เพื่อน ๆ หลายคนที่เดินทางไปทำงานด้วยรถไฟฟ้าใต้ติน หรือที่เรามักเรียกติดปากกันว่า MRT และก็คงเคยเจอปัญหาการรอต่อคิวยาว ๆ เพื่อซื้อเหรียญโดยสาร ที่มีทั้งการให้บริการแบบตู้จำหน่ายตั๋วอัตโนมัติ หรือ ช่องบริการจากเจ้าที่ แต่บางครั้งก็ไม่พอต่อความต้องการของเราในเวลาเร่งรีบเอาซะเลย
มีหลาย ๆ คน เลือกที่จะหลีกเลี่ยงการซื้อเหรียญโดยสารในทุก ๆ ครั้งที่เดินทาง ด้วยการใช้บัตรโดยสารชนิดเติมเงิน ผมเองก็ใช้แบบนี้ครับ เพราะรู้สึกว่าสะดวกในการใช้งาน รวดเร็วในการเข้าชานชาลา ไม่ต้องสัมผัสกับเหรียญโดยสาร ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคภัยต่าง ๆ ที่จะตามมา และไม่ต้องรอต่อคิวยาว ๆ ในการซื้อเหรียญโดยสารด้วยนะครับ
แต่ก็นั่นแหล่ะครับ เมื่อใดที่เงินในบัตรของเราหมด เราก็ต้องไปยืนต่อคิวรอให้เจ้าหน้าที่ทำการเติมเงินให้อยู่ดีครับ
แต่สิ่งที่ผมติดใจอยู่อย่างหนึ่งมาโดยตลอด นั่นก็คือ ทำไมเราไม่สามารถเติมบัตรโดยสารด้วยตัวเองได้ผ่านระบบออนไลน์ใดระบบหนึ่ง เพราะจะทำให้การเดินทางด้วยรถ MRT รวดเร็วขึ้นจากเดิม ก็คือการไม่ต้องไปต่อคิวเพื่อรอเติมเงินเข้าไปในบัตรนั่นเองครับ
และในที่สุดในวันนี้ก็มาถึง วันที่คำถามในหัวของผมวันนั้น สามารถทำได้แล้วในวันนี้
สามารถเติมเงินเข้าบัตรด้วยตัวเองได้แล้วสิ :)
นนี้ผมจะมาแชร์วิธีการเติมเงินบัตรโดยสาร MRT และ MRT Plus ด้วยแอปพลิเคชัน True Money Wallet ครับ เรามาดูขั้นตอนพร้อม ๆ กันเลยครับ
ขั้นตอนและวิธีการเติมเงินเข้าบัตรครับ
1. เปิด แอป True Money Wallet ขึ้นมาก่อนครับ
2. ไปตรงช่อง เติมเงินและจ่ายบิล เลื่อนไปที่ "เติมบัตร MRT"
3. อ่าน "ข้อกำหนดและเงื่อนไขการให้บริการ" และกด "ยอมรับ" ครับ
4. กดเพิ่มบัตรโดยสาร
5. นำเลขรหัสหลังบัตร 8 หลัก มาใส่ตรงช่องและสามารถตั้งชื่อบัตรได้ หากใครมีบัตรโดยสารของลูกหลานที่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายการเดินทางให้ สามารถเพิ่มบัตรเข้าไปและเติมเงินให้ลูกหลานได้ครับ เสร็จแล้วกด เพิ่มบัตรได้เลยครับ
6. เลือกจำนวนเงินที่ต้องการเติม ขั้นต่ำ 100 บาท และสูงสุด 1,500 บาท
7. และ 8. เป็นช่องทางการชำระเงินครับ ทุกคนสามารถเลือกช่องทางการชำระเงินได้
- ทรูมันนี่ วอลเล็ท ช่องทางนี้เราต้องเติมเงินเข้าแอป ทรูมันนี่ วอลเล็ท ก่อนนะครับ แล้วค่อยเติมเข้าบัตร MRT อีกทีครับ (เปิดให้บริการแล้ว)
- บัญชีธนาคาร ช่องทางนี้จะตัดเงินผ่านบัญชีธนาคารที่เราทำการผูกไว้กับแอป ทรูมันนี่ วอลเล็ท ไว้ครับ (ยังไม่เปิดให้บริการ)
- บัตรเครดิต/บัตรเดบิต ช่องทางนี้จะตัดผ่านบัตรเคตดิตหรือบัตรเดบิตที่เราผูกกับแอปไว้ครับ (ยังไม่เปิดให้บริการ)
9. กด "ชำระเงิน" ได้เลยครับ
10. แอปจะบอกรายละเอียด วันและเวลาที่เราต้องนำบัตรไปทำการอัปเดตมูลค่าที่เครื่องปรับมูลค่าบัตรโดยสาร (Activate Value Machine: AVM) ที่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินครับ หากเราไม่นำบัตรไปอัปเดตมูลค่าตามวันและเวลาดังกล่าว เงินจะถูกคืนเข้าแอป ทรูมันนี่ วอลเล็ท ของเราครับ
11. หน้าตาของเครื่องปรับมูลค่าบัตรโดยสาร (Activate Value Machine: AVM) เราสามารถเอาบัตรที่เติมเงินตามขั้นตอนก่อนหน้านี้ มาอัปเดตมูลค่าได้ตามเครื่องนี้เลยครับ
หากเพื่อน ๆ ต้องการรับชมขั้นตอนแบบวิดีโอล่ะก็ ก็สามารถดูตามคลิปนี้ได้เลยครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น